Tuesday, October 5, 2010

สถานที่ท่องเทียวจังหวัดอ่างทอง

ไร่นาสวนผสม สมจิต เริงโพธิ์

หมู่ที่ 2 ตำบลคลองวัว อำเภอเมือง เข้าทางวัดจันทร์นิมิต ไปประมาณ 3 กิโลเมตร ที่นี่ได้รับรางวัลแปลงไร่นาสวนผสมและผู้หญิงเกษตร สาขาเกษตรระดับชาติประจำปี 2544 คุณสมจิตทำไร่นาสวนผสมหลายอย่างบนพื้นที่ประมาณ 13 ไร่ นา 10 ไร่ เน้นการผลิตมะม่วงทะวาย เช่น พันธุ์เศรษฐี ทะวาย โชคอนันต์ น้ำดอกไม้ม้น ส้มโอ ส้มเขียวหวาน ผู้สนใจสามารถขอเข้าชม ติดต่อคุณสมจิต สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 1818 1450


สวนน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

สวนน้ำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตั้ง อยู่ที่ ถนนลำท่าแดง ตำบลย่านซื่อ เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2548 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เยาวชน และประชาชน ออกกำลังกายด้วยการว่ายน้ำ เพื่อสร้างสุขภาพให้แข็งแรง

เปิดให้บริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
โดยวันจันทร์ - ศุกร์ ตั้งแต่เวลา 12.00 - 20.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 20.00 น.
ค่าบริการ เด็ก 10 บาท ผู้ใหญ่ 20 บาท
สอบถามรายละเอียดได้ที่ เทศบาลเมื่องอ่างทอง โทร. 035-611714-5 ต่อ 120

สวนปลา

อยู่บริเวณใกล้สี่แยกไฟแดงหน้าเรือนจำจังหวัดอ่างทอง มีปลาช่อนอะเมซอนขนาดใหญ่จำนวนมาก และปลาพื้นเมืองอื่นๆ เช่น ปลาแรด ปลาสวาย ปลาเทโพ ฯลฯ ไว้ให้นักท่องเที่ยวเที่ยวชม

Monday, October 4, 2010

สถานที่ท่องเทียวจังหวัดอ่างทอง


วัดต้นสน

อยู่ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่โบราณ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร พระนามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตตรธัมมบดีศรีเมืองทอง หรือเรียกชื่อย่อว่า สมเด็จพระศรีเมืองทองขนาดหน้าตักกว้าง 6 วา 3 ศอก 9 นิ้ว สูง 9 วา 1 ศอก 19 นิ้ว หล่อด้วยโลหะทั้งองค์ลงรักปิดทอง พระราชสุวรรณโมลี เจ้าอาวาสวัดต้นสนเดิมเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2516 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีสวมเกตุสมเด็จพระศรีเมืองทอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2528 นับเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะขนาดใหญ่ที่สุดองค์แรกและมีพุทธลักษณะที่สวย งามมากอีกองค์หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีวังปลาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย


วัดอ่างทองวรวิหาร

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออก ข้างศาลากลางจังหวัด เดิมเป็นวัดเล็กๆ 2 วัด ชื่อ วัดโพธิ์เงิน และวัดโพธิ์ทอง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 สมัยรัชกาลที่ 5 เสด็จทางชลมารคผ่านวัดทั้งสองนี้จึงโปรดฯ ให้รวมวัดสองวัดเป็นวัดเดียวกัน และพระราชทานนามว่า “วัดอ่างทอง” วัดนี้มีพระอุโบสถที่งดงาม มีพระเจดีย์ทรงระฆังประดับด้วยกระจกสีทองด้านและหมู่กุฏิทรงไทยสร้างด้วยไม้ สักงดงามเป็นระเบียบซึ่งล้วนเป็นสถาปัตยกรรมตามแบบศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย

ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง-สิงห์บุรี ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลาง แจ้ง องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรด เกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและใน วิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2437

องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่า วิหารแห่งอื่นๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าพระวิหาร มีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้า พระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่จนมีความงามสมบูรณ์ยิ่ง

ข้อมูลจังหวัดอ่างทอง


จังหวัดอ่างทองเป็นจังหวัดขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณที่ราบลุ่มภาคกลาง ไม่ไกลจากกรุงเทพมหานคร สามารถ เดินทางไปกลับได้ภายในวันเดียว มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ศาสนา วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญ ญาชาวบ้าน

ปัจจุบันอ่างทองอุดมไปด้วย งานหัตถก รรมท้อง ถิ่น ทั้งงานปั้นตุ๊กตาชาววัง การทำกลอง การทำอิฐดินเผา และการผลิตเครื่องจักสาน เป็นแหล่งกำเนิดเพลงพื้นบ้านลิเก และเต็มไปด้วยวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และมีความสวยงามน่าสนใจมากมายกว่าถึงกว่า 200 วัด

จังหวัดอ่างทองมี เนื้อที่ประมาณ 968.4 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 605,232.5 ไร่ จัดเป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 71 ของประเทศไทย สภาพพื้นที่มีลักษณะคล้ายรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความกว้างตามแนวทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตก และความยาวตามแนวทิศเหนือถึงทิศใต้ใกล้เคียงกั น คือ ประมาณ 40 กิโลเมตร ภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะคล้ายอ่าง ไม่มีภูเขา พื้นที่ส่วนใหญ่เหมาะแก่การปลูกข้าว ทำไร่ ทำนา และทำสวน มีแม่น้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำน้อยและแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งไหลผ่านอำเภอไชโย อำเภอเมืองฯ และอำเภอป่าโมก รวมระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร

บริเวณจังหวัดอ่างทอง ในปัจจุบันนี้ สันนิษฐานว่าเคยมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และเป็นชุมชนเมืองขนาดย่อมตั้งแต่สมัยทวารวดี โดยมีหลักฐานที่ยังเหลืออยู่ในปัจจุบันก็คือคูเมือง ที่บ้านคูเมือ ง ตำบลห้วยไผ่ อำเภอแสวงหา ต่อมาในสมัยสุโขทัย เมืองอ่างทองได้รับเอาศิลปวัฒนธรรมจากสุโขทัยมาด้วย โดยจะเห็นได้จากลักษณะของพระพุทธรูปสำคัญในจังหวัด ที่มีลักษณะเป็นศิลปะแบบสุโขทัยหลายองค์ เช่น พระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง และพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกวรวิหาร อำเภอป่าโมก เป็นต้น

ต่อมา ในสมัย กรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ. 2127 อ่างทองถูกยกฐานะขึ้นเป็นเมือง ชื่อ “แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ” ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน้อย ต่อมากระแสน้ำในแม่น้ำน้อยเปลี่ยนทิศไป การคมนาคมระหว่างแม่น้ำน้อยกับแม่น้ำเจ้าพระยาทำได้ไม่สะดวก เมืองจึงถูกย้ายไปอยู่ที่ตำบลบ้านแห ริมฝั่งด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา พร้อมกับขนานนามให้เป็นสิริมงคลแก่เมืองใหม่ว่า “เมืองอ่างทอง”

ต่อ มาในปี พ.ศ. 2356 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ย้ายเมืองอ่างทองไปตั้งที่ปากคลอง บา งแก้ว ตำบลบางแก้ว ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำพระยา และเป็นที่ตั้งของอำเภอเมืองฯ จังหวัดอ่างทอง มาจนถึงปัจจุบัน ส่วนเมืองวิเศษชัยชาญยังคงเป็นเมืองมาจนถึงปี พ.ศ. 2439 จึงลดฐานะลงเป็นอำเภอ เรียกว่า “อำเภอไผ่จำศีล” ภายหลังจึงเปลี่ยนชื่อเป็น “อำเภอวิเศษชัยชาญ” จนถึงปัจจุบัน

เมืองอ่างทองมีพื้นที่ติดต่อกับ กรุงศรีอยุธยา จึงมีประวัติศาสตร์เกี่ยวเนื่องกันหลายตอน และเนื่องจากเมืองอ่างทองเคยเป็นยุทธภูมิระหว่างทหารไทยกับทหารพม่าหลาย ครั้ง จึงมีบรรพบุรุษของชาวเมืองอ่างทองสร้างวีรกรรมอันกล้าหาญในการรบกับพม่าหลาย ท่าน เช่น นายแท่น นายโชติ นายอิน และนายเมือง ชาวบ้านสีบัวทอง อำเภอแสวงหา และที่สำคัญคือนายดอก ชาวบ้านกรับ และนายทองแก้ว ชาวบ้านโพธิ์ทะเล เมืองวิเศษชัยชาญ ที่ได้ร่วมกับชาวบ้านเมืองวิเศษชัยชาญอีกกว่า 400 คน ออกสู้รบกับพม่าที่ค่ายบางระจัน นับเป็นวีรกรรมอันกล้าหาญชาญชัยของนักรบไทย ที่ประทับอยู่ในความทรงจำของคนไทยตลอดมา ประชาชนชาวเมืองอ่างทองจึงพร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ไว้ที่วัดวิเศษชัยชาญ อำเภอวิเศษชัยชาญ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นายดอกและนายทองแก้ว โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเปิดอนุสาวรีย์เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2520 ทางจังหวัดอ่างทองจึงได้ถือเอาวันที่ 25 มีนาคมของทุกปี เป็นวันทำพิธีวางพวงมาลาสักการะอนุสาวรีย์นายดอก นายทองแก้ว เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณความดีในวีรกรรมกล้าหาญของท่าน นับแต่นั้นเป็นต้นมา

ปัจจุบัน จังหวัดอ่างทองแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองอ่างทอง อำเภอไชโย อำเภอป่าโมก อำเภอโพธิ์ทอง อำเภอแสวงหา อำเภอวิเศษชัยชาญ และอำเภอสามโก้